Search

“ทิเบต” หลังคาโลกไม่ธรรมดา คว้าตำแหน่งเมืองสิ่งแวดล้อมดีที่สุดระดับโลก - ผู้จัดการออนไลน์

jogja-grade.blogspot.com

ทิเบต เมืองสิ่งแวดล้อมดีที่สุดระดับโลกปี 2019
ทิเบต ดินแดนหลังคาโลกสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจีน คว้าตำแหน่งเมืองคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในระดับโลกประจำปี 2019 โดยมีระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่สัตว์ป่าหายากอย่างแอนทิโลป-จามรีป่าก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ล่าสุดทิเบตยังเดินหน้าปลูกป่าทางอากาศขนานใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้มีมากยิ่งขึ้น

ลาซา, ซินหัว – สำนักข่าวซินหัวสื่อทางการของประเทศจีนรายงานว่า เขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนยังคงเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในระดับโลกประจำปี 2019 โดยมีระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่มีเสถียรภาพ

ทะเลสาบน่ามู่ชั่ว หรือทะเลสาบนัมโซ แห่งทิเบต
รายงานนี้เผยแพร่โดยสำนักนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของทิเบตระบุว่าคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักและทะเลสาบที่สำคัญ รวมถึงคุณภาพอากาศในทิเบต ในปี 2019 ยังคงดีอยู่

ทั้งนี้จนถึงสิ้นปี 2019 ทิเบตได้จัดตั้งเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ 47 แห่ง ภายในพื้นที่รวม 412,200 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 34.35 ของพื้นที่ทั่วทิเบต

สำหรับสัตว์ป่าหายากในทิเบตมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น โดยแอนทิโลปทิเบตมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนอยู่ที่ราว 200,000 ตัว ขณะที่จามรีป่ามีประชากรมากกว่า 10,000 ตัว

แอนทิโลปในทิเบตมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ขณะที่สถิติท้องถิ่นชี้ว่าทิเบตได้ส่งเสริมการปกป้องสัตว์ป่าในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยทิเบตได้ลงทุนมากกว่า 1.3 พันล้านหยวน (ประมาณ 5.76 พันล้านบาท) ในการสร้างฐานเพาะพันธุ์ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ สถานีสังเกตการณ์ และสถานีช่วยเหลือสัตว์ป่า

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 63 ที่ผ่านมา เขตปกครองตนเองทิเบต ยังเดินหน้าปฏิบัติภารกิจปลูกป่าทางอากาศระดับใหญ่เป็นครั้งแรก

ภารกิจโปรยเมล็ดพันธุ์ทางอากาศเพื่อปลูกป่าจะสิ้นสุดลงในวันที่ 20 มิ.ย. และคาดว่าจะครอบคลุมพื้นที่กว่า 90,800 ไร่ รวมถึงนครลาซา เมืองเอกของภูมิภาค และเมืองซานหนาน โดยใช้เมล็ดพันธุ์รวมทั้งหมด 119.3 ตัน

ทิวทัศน์น์เมืองหลินจือ ทิเบต ในฤดูใบไม้ผลิ
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ระบุว่าการปลูกป่าทางอากาศเป็นภารกิจที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ทั้งยังกระตุ้นประสิทธิภาพในการปลูกป่าและลดต้นทุนด้วย

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทิเบตผลักดันแผนการปลูกป่าระดับใหญ่ ส่งผลให้ในปัจจุบันมีป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 12 ของภูมิภาค

สำหรับ “เขตปกครองตนเองทิเบต” ตั้งอยู่บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต แห่งเทือกเขาหิมาลัย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน “หลังคาโลก” โดยทิเบตมีความสูงเฉลี่ยของพื้นที่อยู่ที่ 4,572 เมตร

เมืองลาซา เมืองเอกของทิเบต
เขตปกครองตนเองทิเบต แบ่งเป็น 7 จังหวัด มีเมือง “ลาซา” หรือ “นครลาซา” เป็นเมืองเอก หรือ เมืองหลวง โดยคำว่า “ลาซา” ในภาษาทิเบตหมายความว่า “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” หรือ “พุทธสถาน”

เมืองลาซามีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บนความสูงกว่า 3,650 เมตร จากระดับน้ำทะเล เมืองนี้เป็นหนึ่งในแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญที่มีการผสมผสานทั้ง ทิเบต ฮั่น มองโกล อินเดีย และเนปาล อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ คมนาคม พุทธศาสนา และการท่องเที่ยวที่สำคัญของทิเบต

พระราชวังโปตาลา
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ในทิเบตนั้นก็นำโดย “พระราชวังโปตาลา” และ “วัดโจคัง” ซึ่งสถานที่ทรงคุณค่าทั้งสองได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกพร้อมกันในปี ค.ศ.1994

นอกจาก 2 มรดกโลกสำคัญแล้ว ทิเบตยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงามชวนทึ่งอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ที่ราบสูงชิงไห่ ทะเลสาบตังฉยงชั่ว ทะเลสาบนัมโซ ทะเลสาบเส้อหลิน แม่น้ำฉาอวี๋

และ แม่น้ำยาร์ลุงซางโปที่มี “นกกระเรียนคอดำ” หนึ่งในสัตว์คุ้มครองสำคัญของจีนออกหากิน เป็นต้น ซึ่งวันนี้หลังจากทิเบตได้เปิดเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งหลังจากต้องปิดเมืองชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก

ทะเลสาบตังฉยงชั่ว




June 14, 2020 at 05:01PM
https://ift.tt/3hsSiLS

“ทิเบต” หลังคาโลกไม่ธรรมดา คว้าตำแหน่งเมืองสิ่งแวดล้อมดีที่สุดระดับโลก - ผู้จัดการออนไลน์

https://ift.tt/2REt1Df


Bagikan Berita Ini

0 Response to "“ทิเบต” หลังคาโลกไม่ธรรมดา คว้าตำแหน่งเมืองสิ่งแวดล้อมดีที่สุดระดับโลก - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.