Search

คอลัมน์ผู้หญิง - เมืองปัญญาประดิษฐ์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

jogja-grade.blogspot.com

ประชากรบนโลกใบนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งอยู่อาศัยในชุมชนเมือง และแน่นอนว่าในเรื่องของความหนาแน่นของประชากร ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของความเป็นเมืองนั้น มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่เมืองของโลก โดยการคาดการณ์ในปี ค.ศ. 2025 ประชากรโลกถึง 2 ใน 3 จะอาศัยอยู่ในชุมชนเมือง และนี่จะเป็นการเพิ่มพูนปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แล้วให้ทวีคูณขึ้นอีกหรือไม่ ไหนจะเรื่องทรัพยากรเมืองที่มีจำกัด อาจจะไม่เพียงพอต่ออัตราคนเมืองที่ล้นเกิน คำถามในเรื่องของความยั่งยืนด้านคุณภาพชีวิตของประชากรในลักษณะเช่นนี้กำลังทยอยออกมา เพื่อแสดงความมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเมืองที่จะเกิดขึ้นต่อไป ว่าควรต้องมีทิศทางไปในลักษณะไหนที่จะตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้อยู่อาศัยได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัยที่มีราคายุติธรรม ทางเลือกด้านการคมนาคมที่ทั่วถึงและเสมอภาค การบริหารจัดการน้ำและพลังงาน รวมไปถึงบริหารด้านต่างๆ ที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ เหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องร่วมกันคิด ช่วยกันออกแบบ สร้างการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐกับประชาชนให้เกิดขึ้น เพื่อมีเป้าหมายไปยังการพัฒนาที่ตอบโจทย์ของประชากรในพื้นที่นั้นๆ อย่างเท่าเทียม และเป็นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

ในรูปแบบที่เกิดขึ้นสำหรับหลายชุมชนเมืองก่อนหน้านี้ ในการยกระดับคุณภาพเพื่อรองรับความหนาแน่นของประชากร เทคโนโลยีได้รับการหยิบขึ้นมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตอบปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาอย่างทั่วถึง และทำให้การใช้ทรัพยากรเมืองที่มีอยู่ใช้ไปกับคำว่าคุณภาพอย่างแท้จริง คือ การสิ้นเปลืองทั้งกำลังทรัพย์ แรงงาน หรือแม้แต่เวลาให้น้อยที่สุด แต่เกิดประโยชน์ต่อเมือง ผู้คน และระบบของชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

แน่นอนว่า การเกิดขึ้นของ “เมืองอัจฉริยะ” ที่เชื่อมร้อยด้วยเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร อาจได้สร้างความตื่นตาตื่นใจไปแล้วสำหรับใครหลายคน แต่นั้นก็เป็นแค่การเชื่อมโยงเครือข่ายของเมืองเท่านั้น เปรียบได้เพียงแค่อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) ก่อนอาหารจานหลักที่จะมาในลำดับถัดไป เพราะบริบทแท้จริงของคำว่า “เมืองอัจฉริยะ” มีมากกว่าแค่การเชื่อมโยงการสื่อสาร แต่ต้องเป็นการติดตาม ควบคุม และบริหารจัดการการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการให้บริการในด้านสาธารณะต่างๆ ของชุมชนเมือง “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial Intelligence) จึงได้รับการนำมาใช้เพื่อเพิ่มความชาญฉลาดให้กับโครงสร้างในการบริหารจัดการการบริการและการดูแลรักษาเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเฝ้าระวังอาชญากรรม ระบบการควบคุมการจราจรที่ทันสมัย รวมไปถึงการอำนวยความสะดวก อาทิ “ที่จอดรถอัจฉริยะ” สำหรับในบางเมืองที่มีความจำกัดของพื้นที่ ฯลฯ

อันที่จริงแนวคิด “เมืองอัจฉริยะ” ได้รับการพูดถึงและดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 และได้รับการศึกษาและลงมือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายมาเป็นแนวคิดเรื่อง “เมืองปัญญาประดิษฐ์”ในปัจจุบัน ซึ่งตามความเข้าใจแล้ว ส่วนใหญ่จะมองว่า หัวใจสำคัญของระบบนี้จะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีอันทันสมัยเท่านั้นทั้งๆ ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ เพราะความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่จะนำมาปัญญาประดิษฐ์เข้ามาขับเคลื่อนร่วมด้วยนั้นโดยหลักพื้นฐานจะมีองค์ประกอบสำคัญถึง 4 ประการด้วยกัน คือ

1.การใช้เทคโนโลยี หรือ ICT : (Information Communication Technology) ดังที่ได้เกริ่นไปแล้วในเบื้องต้น ในเรื่องของเทคโนโลยีเชื่อมโยงการสื่อสาร และปัจจุบันทั่วโลก็มีแนวคิดในเรื่อง Internet of Things : (IoT) เพิ่มเข้ามาเพื่อพัฒนาการดูแลและบริการประชาชนในรูปแบบของความเป็นชุมชนเมืองให้กระชับในส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น โดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านสัญญาณอินเตอร์เนตในระบบโครงข่าย 5จี ที่มีการวางระบบกันในหัวเมืองใหญ่ชั้นนำทั่วโลกในตอนนี้

2.ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในส่วนนี้จำเป็นต้องพึ่งการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อผลักดันการพัฒนาภายใต้พื้นฐานด้านการศึกษา การเรียนรู้ และทักษะหรือความชำนาญ ซึ่งภาครัฐควรต้องส่งเสริมในส่วนนี้ หรืออาจต้องลงทุนตั้งเป็นองค์กรขึ้นมาในการระดมบุคคลภายนอก (ในชุมชนเมือง)เข้ามามีส่วนร่วมกับทิศทางของเมืองอย่างเป็นระบบ

3.พลังของชุมชน เป็นโครงสร้างที่ควรจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากในส่วนของความคิดสร้างสรรค์จากคนในชุมชน ดังนั้น ภาครัฐ
ต้องสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของชุมชน ผลักดันหน่วยงานบริหารชุมชนเมืองให้ทำงานเป็นอิสระจากส่วนกลาง แต่เชื่อมร้อยกับหน่วยงานอิสระ หรือภาคธุรกิจในชุมชนนั้นๆ เพื่อที่จะมีความคล่องตัวสำหรับการรวบรวมแนวทางต่างๆ มากลั่นกรองเป็นนโยบายสำหรับการพัฒนาเมืองของตนเองโดยเฉพาะ แต่ก็เปิดช่องทางสำหรับการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของชุมชนให้สามารถเข้ามากำกับความเป็นไปในการพัฒนาเมืองได้อย่างสะดวก

4.ความร่วมมือจากภาครัฐ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมองไปถึงเรื่องของการกระจายอำนาจจากส่วนกลางอย่างจริงจัง เพราะในบางประเทศที่ความเป็นอัจฉริยะของเมืองเกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก แม้จะมีงบประมาณในส่วนของการพัฒนาเมืองอย่างมหาศาล ก็เพราะแนวนโยบายของการพัฒนาถูกจัดทำขึ้นมาจากส่วนกลางที่ขาดความเข้าใจในแต่ละบริบทของแต่ละชุมชนเมือง ที่สำคัญ กฎหมายบางบทก็เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้ามาจัดการในเรื่องความเป็นไปได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงภาคประชาสังคมที่ต้องเข้ามากำกับในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่ต้องไม่สร้างปัญหาในอนาคต

องค์ประกอบทั้ง 4 ด้านนี้เองที่จะเป็นเสมือนแกนของการยกระดับการพัฒนาชุมชนเมืองให้ตอบโจทย์ในเรื่องการแก้ไขปัญหาอันมีที่มาจากความหนาแน่นของจำนวนประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเครื่องมืออันทันสมัย ความคิดที่มีความเข้าใจและสร้างสรรค์ การประสานพลังของผู้คนในชุมชน และการสนับสนุนจากทางรัฐบาล อย่างประเทศสิงคโปร์ ดังที่ทราบกันดีว่าด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้มีปัญหาเรื่องความหนาแน่นของประชากรพอสมควร แต่ระบบการบริหารจัดการในเรื่องความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตต่อประชาชน ก็ถือเป็นที่ยอมรับจากพลเมืองในประเทศ รวมไปถึงรัฐบาลในหลายประเทศที่ยินดีบินข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อไปศึกษาดูงาน
ในเรื่องนี้กันอย่างคึกคัก อาทิ เรื่องการสร้าง “ภาพฮอโลแกรม 3 มิติ” ของทั้งประเทศเชื่อมโยงเข้ากับฐานข้อมูลทั้งหมด (Big Data) เพื่อให้นักออกแบบนโยบายเมือง รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนพัฒนาเมือง ได้เห็นรายละเอียดทั้งหมดของสิงคโปร์ ทั้งอาคารสถานที่สวนสาธารณะ เส้นทางน้ำขึ้น น้ำลง รวมไปถึงรายละเอียดที่ลึกมากๆ ทั้งการใช้พลังงานในสถานที่ต่างๆ ระดับมลพิษที่มีต่อสถานที่จากนั้นก็นำมาบริหารจัดการวางแผนที่เป็นรูปธรรมต่อไปในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของเมือง ที่สำคัญ ด้วยรูปแบบเดียวกันนี้ ทางทีมความมั่นคงก็ได้ใช้ในการจำลองการให้ความช่วยเหลือ การสร้างการป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมืออย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตอีกด้วย

หรือที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา กับ “ห้องทดลองริมทางเดิน”(Sidewalk Lab) ที่ทำการเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีการตรวจวัดการสัญจร การใช้บริการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่าน IoT และปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลทั้งหมด เพื่อออกแบบความปลอดภัยในด้านต่างๆ และอำนวยความสะดวกในเรื่องของบริการและการคมนาคม อาทิ การติดตามรถไร้คนขับการใช้หุ่นยนต์ในการส่งจดหมายหรือพัสดุ รวมไปถึงใช้เป็นข้อมูลในการประกอบแผนการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต

กระนั้น เหรียญก็มี 2 ด้านเสมอปัญญาประดิษฐ์ก็เช่นกัน ความพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดของเมือง อาจมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของความเป็นส่วนตัว การใช้ประโยชน์จากข้อมูลของเราไปในทางที่ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงความกังวลอีกสารพัดแต่ทุกปัญหาก็มีทางออกให้เสมอ ขอแค่หาความสมดุลของผลลัพธ์ที่ต้องการร่วมกันของคนในชุมชนให้เจอเท่านั้น




July 19, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3jshljc

คอลัมน์ผู้หญิง - เมืองปัญญาประดิษฐ์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/2REt1Df


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์ผู้หญิง - เมืองปัญญาประดิษฐ์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.