“เชียงใหม่” เมืองในฝันของใครหลายคน ด้วยวัฒนธรรมล้านนาที่มีเสน่ห์ สถาปัตยกรรมสวยงามลงตัว ผสมผสานกับธรรมชาติที่น่าหลงใหล ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ทำให้เป็นเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของโลกที่นักท่องเที่ยวอยากเดินทางมาเที่ยวชม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือ PEA ให้ความสำคัญและความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ บริเวณถนนโดยรอบคูเมือง และถนนสายหลักรอบคูเมืองเชียงใหม่ รวมถึงเส้นทางสายวัฒนธรรม และโบราณสถานที่สำคัญ โดยการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคม และนำระบบไฟฟ้าลงใต้ดิน
ที่ผ่านมา PEA ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ประกอบกิจการธุรกิจสื่อสาร ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมที่พาดอยู่บนเสาไฟฟ้าครอบคลุม 74 จังหวัดทั่วประเทศในพื้นที่ความรับผิดชอบของ PEA เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และส่งเสริมทัศนียภาพที่สวยงามของเมือง
นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดเผยว่า เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นเสาไฟฟ้าที่จ่ายให้ประชาชน แต่เมื่อมาอยู่ริมถนนจึงมีสายโทรคมนาคมหรือสายสื่อสารมาพาดอยู่ด้วย โดยเสาไฟฟ้านั้นไม่ได้ออกแบบสำหรับรับแรงของสายสื่อสารในปริมาณที่มาก เมื่อมีสายโทรคมนาคมและสายสื่อสารจำนวนมากจึงมีผลต่อการรับน้ำหนักของเสาไฟฟ้า เมื่อมีลมแรงๆ หรือมีอุบัติเหตุที่เกี่ยวเสาไฟฟ้าล้ม ก็จะส่งผลให้เสาไฟฟ้าล้มจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงเป็นเหตุผลหลักที่ต้องมีการจัดระเบียบสายสื่อสารกัน ให้มีปริมาณที่เหมาะสม
“ PEA ได้สำรวจเสาไฟฟ้าใน 74 จังหวัดที่รับผิดชอบพบเส้นทางวิกฤตที่มีสายสื่อสารโทรคมนาคม จึงมีแผนที่จะจัดระเบียบส่วนนี้ก่อน โดยเฉพาะสายที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน หรือเรียกว่า "สายตาย" ให้นำลงให้หมด ส่วนสายสื่อสารโทรคมนาคมที่ต้องใช้งานก็ให้จัดระเบียบใส่คอนเสาไฟฟ้าชนิดใหม่ เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าด้วย ความสวยงาม และความปลอดภัย ปัจจุบันสามารถจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมแล้วประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมมีแผนที่จะทำแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน ปี 2563 แต่เนื่องจากติดปัญหาการระบาดของโควิด -19 ทำให้แผนงานเลื่อนออกไปเล็กน้อย หลังจากนี้จะตั้งเป้าทำให้แล้วเสร็จก่อนในเส้นทางวิกฤต และมีแผนเดินหน้าที่จะจัดระเบียบสายสื่อสารฯในเส้นทางสายรองที่มีสายสื่อสารเกินปริมาณก็จะมีการจัดระเบียบต่อไป” ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าว
สำหรับสายที่อยู่บนเสาไฟฟ้านั้นจะประกอบด้วย ชั้นบนสุดเป็น “สายไฟฟ้าแรงสูง” 22,000-33,000 โวลต์ ถัดลงมาที่อยู่ตรงกลางจะเป็น “สายไฟฟ้าแรงต่ำ” 230/400 โวลต์ และแถวล่างสุดเป็น “สายโทรคมนาคมหรือสายสื่อสาร” ที่ต้องมีการจัดระเบียบนั่นเอง โดยการจัดระเบียบฯ จะให้ผู้ประกอบกิจการธุรกิจสื่อสารดำเนินการสำรวจ พร้อมติดเทปแสดงสัญลักษณ์ สายสื่อสารที่มีการใช้งานส่วนสายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานจะรื้อถอนออกทั้งหมด
ขณะที่การดำเนินงานการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดระเบียบฯตั้งแต่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ถึงแยกสะพานป่าแดด ถนนมหิดล รวมระยะทาง 2.7 กิโลเมตร บนเสาไฟกว่า 110 ต้น ทั้งส่วนที่ไม่ได้ใช้งานและส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาต หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการยุบรวมสายสื่อสารให้มีสายคงเหลือเป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคน้อยที่สุด เพื่อเป็นการสร้างทัศนียภาพที่สวยงามสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนส่วนรวม รวมทั้งยังก่อให้เกิดความมั่นคงในระบบการจำหน่ายไฟฟ้าของ PEA ด้วย
นอกจากมีการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมแล้ว PEA ได้ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ และบริษัทด้านโทรคมนาคม ดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้า นำระบบไฟฟ้าลงใต้ดิน และติดตั้งระบบไฟส่องสว่าง ตลอดแนวถนนพระปกเกล้า บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งเป็นถนนสายที่สามของเชียงใหม่และเป็นถนนสายแรกในเขตเมืองเก่า ที่มีการพัฒนาระบบไฟฟ้า ปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตเมืองเก่าให้มีความสวยงามเป็นระเบียบ รวมทั้งมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เมืองวัฒนธรรมอย่างเชียงใหม่ที่มีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับความคลาสสิก เมื่อมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าด้วยการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และการนำระบบไฟฟ้าลงใต้ดิน เมื่อไม่มีอะไรมาบดบังความสวยงาม ไม่มีสายไฟรกรุงรังบดบังสายตา ไฟก็มีใช้อย่างมั่นคงปลอดภัยสมกับเป็น “นครเชียงใหม่ เมืองสวยไร้สาย” ที่พร้อมมุ่งสู่การเป็น “เมืองมรดกโลก” ในอนาคต
(Advertorial)
August 18, 2020 at 11:58AM
https://ift.tt/2FAKl8X
PEA เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคม ผลักดันนครเชียงใหม่ เมืองสวยไร้สาย รับนักท่องเที่ยว - Sanook
https://ift.tt/2REt1Df
Bagikan Berita Ini
0 Response to "PEA เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคม ผลักดันนครเชียงใหม่ เมืองสวยไร้สาย รับนักท่องเที่ยว - Sanook"
Post a Comment