Search

ตอกเสาเข็มเมืองการบิน เปิดมิติใหม่เดินหน้าประเทศไทยหลังวิกฤติโควิด - ไทยรัฐ

jogja-grade.blogspot.com

นายกฯเป็นประธานพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก เป็นมิติใหม่ในการก้าวเดินของประเทศไทย “คณิศ” ชี้เป็นโครงการลงทุนสูงสุดในปีนี้ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “โชคชัย” ชี้การก่อสร้างเฟสแรกจะรองรับผู้โดยสารสูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี เปิดบริการปี 67 “พุฒิพงศ์” เผยยื่นราคาร่วมลงทุนกว่า 3 แสนล้าน ไม่ได้มุ่งกำไร มองว่าธุรกิจท่องเที่ยวไทยมีอนาคต

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในพิธีลงนามสัญญาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นเฉพาะกิจโดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ยื่นข้อเสนอเงินประกันขั้นต่ำเป็นผลตอบแทนให้แก่รัฐดีที่สุด เพื่อร่วมกันลงทุนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออกที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ยินดีที่มีการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการนี้ต่อเนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เมื่อวันที่ 24 ต.ค.62 รัฐบาลมุ่งมั่นพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างต่อเนื่อง เริ่มมาตั้งแต่รัฐบาลก่อนที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯเป็นผู้เริ่มโครงการ มาถึงวันนี้มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ มาขับเคลื่อนต่อ ขอบคุณทุกคนและทุกภาคส่วนที่ริเริ่มมาด้วยกัน นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซีที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม จะพัฒนาอีอีซีให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาค การลงนามในวันนี้เป็นการยืนยันเจตจำนงของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ถือเป็นก้าวสำคัญและเป็นมิติใหม่ในการก้าวเดินของประเทศไทย พร้อมยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาค

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดยใช้เงินลงทุน 290,000 ล้านบาท แต่เป็นโครงการที่รัฐได้ผลประโยชน์ด้านการเงิน 305,555 ล้านบาท เป็นโครงการลงทุนใหญ่ที่สุดในปีนี้ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขณะที่การก่อสร้างใช้บริษัทของไทยเป็นตัวนำ เช่นเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินที่ใช้เอกชนไทยเป็นตัวนำ ขณะนี้ได้เห็นความพร้อมที่อีอีซีแล้วว่าเป็นจริงเพราะมีทั้งรถไฟความเร็วสูง และสนามบิน

นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า ทางกลุ่ม BBS หรือบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิ-เอชั่น จำกัด ได้จัดทำแผนพัฒนาโครงการออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 มีอาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่ 157,000 ตารางเมตร พื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถ ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน และหลุมจอดอากาศยาน 60 หลุมจอด คาดว่าจะแล้วเสร็จ

ปี 67 รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี ระยะที่ 2 จะเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 16 หลุมจอด จะแล้วเสร็จปี 73 รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 30 ล้านคนต่อปี ระยะที่ 3 ต่อขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมจากระยะที่ 2 กว่า 107,000 ตารางเมตร เพิ่มหลุมจอดอีก 34 หลุมจอด จะแล้วเสร็จปี 85 รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 45 ล้านคนต่อปี ส่วนระยะที่ 4 มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่สองเพิ่มขึ้นกว่า 82,000 ตารางเมตร เพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 14 หลุมจอด จะแล้วเสร็จปี 98 รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคนต่อปี

พล.ร.ต.เกริกไชย วจนาภรณ์ รองปลัดบัญชีทหารเรือกล่าวว่า กองทัพเรือเป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 ซึ่งเป็นทางวิ่งที่มีความยาว 3,500 เมตร วงเงิน 17,000 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จใช้งานได้ภายในปี 67

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด ถือหุ้นโดยการบินกรุงเทพ 45% บีทีเอส 35% และ ซิโน-ไทย 20% ด้วยทุนจดทะเบียน 4,500 ล้านบาท จากนั้นเมื่อเปิดดำเนินการสนามบินในปี 2567 จะเพิ่มทุนเป็น 9,000 ล้านบาท ส่วนที่ทางกลุ่มทุนเสนอเงินร่วมลงทุนในโครงการนี้ 305,555 ล้านบาท เพราะมองเห็นความสำคัญของโครงการที่มีความจำเป็นกับประเทศ ต้องการให้ประโยชน์ตกอยู่กับรัฐมากที่สุดด้วย ไม่ได้มุ่งหวังกำไรมากมาย และพิจารณาจากการเติบโตของภาคท่องเที่ยวของประเทศ และเป็นโครงการที่มีระยะยาวถึง 50 ปี

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มเอกชนที่ร่วมลงทุนกับรัฐในโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นคนละกลุ่มกัน ในตอนแรกก็รู้สึกกังวลใจ ในขั้นตอนการเจรจาสัญญาจึงเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการประสานงานทั้งสองโครงการขึ้นมาเพื่อให้การก่อสร้างและเปิดใช้โครงการสอดรับกัน.

อ่านเพิ่มเติม...




June 20, 2020 at 05:45AM
https://ift.tt/3dgJ6XD

ตอกเสาเข็มเมืองการบิน เปิดมิติใหม่เดินหน้าประเทศไทยหลังวิกฤติโควิด - ไทยรัฐ

https://ift.tt/2REt1Df


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ตอกเสาเข็มเมืองการบิน เปิดมิติใหม่เดินหน้าประเทศไทยหลังวิกฤติโควิด - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.