Search

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'บ้านวังน้ำมอก' ภูมิวัฒนธรรมชุมชนสองล้านสองเวียง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

jogja-grade.blogspot.com

วันอาทิตย์ ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

การรับแขกสู่ขวัญ

ผลจากการตามรอยสยามเดินทางเลาะริมแม่น้ำโขงไปกับงานของหน่วยกองบัญชาการกองทัพไทยที่พัฒนาพื้นที่ชายแดนและดูแลชุมชนนั้น
ทำให้ได้เห็นความเข้มแข็งของหมู่บ้านที่น่าจะเป็นต้นแบบของหมู่บ้านทั่วไปโดยพึ่งพาตนเอง คือ ชุมชนบ้านวังน้ำมอก  ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่จังหวัดหนองคาย ซึ่งสร้างสรรค์นำเอาวัฒนธรรมสองกลุ่มชาติพันธ์ุจากล้านนาและล้านช้างมาสู่ธุรกิจชุมชนให้เป็นการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ทางวัฒนธรรม แม้ว่าจะเป็นหมู่บ้านที่เกิดหลังการสร้างบ้านแปงเมืองต้นรัตนโกสินทร์ที่พากัน “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ก็ตาม

วังน้ำมอกแห่งนี้เป็นหมู่บ้านแห่งใหม่ตั้งโดยนำชื่อของปืนไม้กระบอก หรือปืนพลุ ซึ่งสมัยโบราณนั้นใช้สำหรับยิงเป็นสัญญาณบอกเหตุต่างๆ ในกรณีสัตว์ร้ายเข้าบ้าน มีโจรผู้ร้ายหรือข้าศึกเข้ามารุกราน หรือสัญญาณการรวมไพร่พล เป็นต้น บ้านวังน้ำมอกนี้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ราษฎรอพยพมาจากที่ต่างๆ หลายแห่ง ในครั้งแรกนั้น ผู้ใหญ่จอน สายสี และนายพูนชาวบ้านโคกคอน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้นำครัวมาตั้งบ้านอยู่ประมาณ ๕-๖ หลังคาเรือนโดยทำมาหาเลี้ยงชีพโดยการตัดไม้และเข้าป่าหาของขาย ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๕๑๒ ได้มีราษฎรพากันอพยพมาจาก อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านไทยเจริญและอยู่กระจัดกระจายไปทั่ว จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ นั้นพระอาจารย์ลี ได้เข้ามาตั้งวัดวังน้ำมอก ขึ้นเป็นสาขาของวัดหินหมากเป้ง พัฒนาสร้างทำนบเก็บกักน้ำบริเวณหน้าวัดโดยมีพระอยู่จำพรรษาที่วัดวังน้ำมอกต่อมา หลังจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานผ้าพระกฐินส่วนพระองค์มาทอดถวายเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ แล้ว จึงมีการจัดโครงการปรับปรุงเขื่อนกักเก็บน้ำด้านหน้าวัด (ทิศใต้) นั้น ด้วยความอนุเคราะห์จากกรมพัฒนาที่ดิน ทำให้ได้ฝายน้ำขนาดใหญ่เก็บกักน้ำสำหรับราษฎรในหมู่บ้านและชาววัดได้มีน้ำใช้ตลอดปี

กาแฟแบบบ้านๆ ใช้ตำ

การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในชุมชนแห่งนี้เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Conservation Tourism) โดยคนในชุมชนร่วมกันเป็นเจ้าของและดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยผ่านการประสานประโยชน์ต่างๆ ของชุมชน ซึ่งทุกคนร่วมการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคงให้มีรายได้สู่คนในชุมชน คงไม่ใช่งานประเภท...วิถีบ้าๆ บอๆ รอผลาญงบประมาณแล้วคนในชุมชนไม่ได้อะไรเลย...หน่วยงานไหนทำอย่างนี้ก็เลิกเสีย นึกว่าสงสารชาวบ้านและชุมชนเล็กๆ ชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ถือว่าเป็นต้นแบบความเข้มแข็งด้วยตัวเอง มีการปลูกป่าให้เป็นแหล่งอาหารและฟื้นชีวิตให้สมบูรณ์หลังจากที่เคยถูกตัดไม้เผาถ่านมาก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๗จนป่าเสียหายมากมายนั้นร่วมกันปลูกป่าทดแทนให้กลับกลายมาเป็นป่าชุมชนโดยสมบูรณ์ในปีพ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งทุกวันนี้ทุกคนได้ร่วมกันใช้ป่านั้นเป็นแหล่งเรียนรู้ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชุมชน คนอยู่กับป่า พร้อมกับคิดค้นนวัตกรรมการพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จัดระเบียบวิธีการหาอาหารจากป่า ไม่ว่าจะเก็บหน่อไม้ เห็ด และตีผึ้ง สำหรับวิถีการท่องเที่ยวชุมชนนั้นได้นำเอาวัฒนธรรมของชาวไทยล้านนาและชาวไทยล้านช้างมารักษาวิถีของตนด้วยประเพณีต่างๆเช่น บุญเบิกบาน งานบุญในขนบประเพณีของฮีตสิบสองคองสิบสี่ และมีวิถีอยู่กับการพลิกฟื้นผืนป่าตามพระราชดำริในรัชกาลที่ ๙ จนกลายเป็นชุมชนต้นแบบในการสร้างอัตลักษณ์ของตนด้วย “การอนุรักษ์วิถีชีวิตสองล้านสองเวียง สืบสานมรดกล้านนาล้านช้าง สร้างสรรค์ชุมชนแห่งวัฒนธรรม” โดยมีดอกปีบ หรือดอกกาสะลอง เป็นดอกไม้ประจำชุมชนไปสู่ความภาคภูมิใจของตน งานนี้ขอชื่นชมที่มีผู้ทำงานใส่ใจอย่าง คุณติณณภพ สุพันธะ และชาวบ้านรักถิ่นช่วยกันดูแลและสร้างงานกันขึ้นเอง

บายศรีน้อยรับแขกเยือน

บายศรีน้อยรับแขกเยือน

ติณณภพ สุพันธะ ผู้ดูแล

ติณณภพ สุพันธะ ผู้ดูแล

สืบสานวัฒนธรรมล้านนา-ล้านช้าง

สืบสานวัฒนธรรมล้านนา-ล้านช้าง

สาวงามวังน้ำมอก

สาวงามวังน้ำมอก

ศูนย์วัฒนธรรมบ้านวังน้ำมอก

ศูนย์วัฒนธรรมบ้านวังน้ำมอก

ลำน้ำมอกของหมู่บ้าน

ลำน้ำมอกของหมู่บ้าน

พิธีสู่ขวัญ

พิธีสู่ขวัญ

บายศรีน้อย

บายศรีน้อย

บรรยากาศเรือนพัก

บรรยากาศเรือนพัก

น้ำตกวังน้ำมอก

น้ำตกวังน้ำมอก




August 02, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2XkaEpJ

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'บ้านวังน้ำมอก' ภูมิวัฒนธรรมชุมชนสองล้านสองเวียง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/2REt1Df


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'บ้านวังน้ำมอก' ภูมิวัฒนธรรมชุมชนสองล้านสองเวียง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.